ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป
โรงเรียนศาสนธรรมวิทยา เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรกะทรวงศึกษาธิการ ซึงได้เปิดการเรียนการสอนในช่วงชั้นที่ 3(ม.1-ม.3)
โรงเรียนศาสนธรรมวิทยา มีบุคลากรทั้งหมด 16 คน
มี นาย มาหะมะ อาแว เป็นผู้รับใบอนุญาต
มี นาย ชำนาญ กาจิ เป็นผู้จัดการ
มี นางสาวอุษณีย์ เทศนอก เป็นครูใหญ่
โรงเรียนศาสนธรรมวิทยาแบ่งโครงสร้างบริหารงาน 4 ฝ่าย
1) ฝ่ายวิชาการ
2) ฝ่ายกิจการนักเรียน
3) ฝ่ายบริการการศึกษา
4) ฝ่ายบริหารและแผน

ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 กำหนดให้ผู้กำกับดูแลและผ่ายบริหารของหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบในการนำมาตรฐานการควบคุมภายในของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดวางระบบการควบคุมภายในให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในนั้น จึงเสนอรายงานความคืบหน้าตามระเบียบ คตง. 5 ข้อดังนี้

1. สรุปภารกิจและวัตถุประสงค์การดำเนินการที่สำคัญในระดับองค์กร
โรงเรียนศาสนธรรมวิทยา มีภารกิจในการจัดการเรียนการสอน ในช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม3)
โดยมีโครงสร้างการบริหารงาน 4 ฝ่าย
1.1 ฝ่ายวิชาการ
1.2 ฝ่ายกิจการนักเรียน
1.3 ฝ่ายบริการการศึกษา
1.4 ฝ่ายบริหารและแผน
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการควบคุมภายในองค์กร
โรงเรียนศาสนธรรมวิทยา ได้แบ่งการทำงาน 4 ฝ่ายและได้มอบหมายหน้าที่ให้ผู้จัดการดูแล 1ฝ่ายคือฝ่ายบริหารและแผน และครูใหญ่ รับผิดชอบ 3 ฝ่าย คือฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบริการการศึกษา

3. ความเสี่ยงทีสำคัญ และข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการควบคุมภายใน
โรงเรียนศาสนธรรมวิทยาได้วางกิจกรรมการควบคุมภายใน คือ
1. ฝ่ายวิชาการ
2 .ฝ่ายกิจการนักเรียน
3. ฝ่ายบริหารและแผน

3.1 ฝ่ายวิชาการ
3.1.1วัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สำคัญของการบริหารงานวิชาการ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอน ให้นักเรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุขตามเป้าหมายของหลักสูตร
3.1.2 ความเสี่ยงที่สำคัญ
• การเรียนการสอนไม่บรรลุวัตถุประสงค์
• นักเรียนได้ใช้แหล่งการเรียนรู้น้อย
• สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ
3.1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่ายวิชาการ จำนวนครูที่ทำหน้าที่การสอน มีจำนวน12 คนโดยแบ่งเป็นครูที่สอนสามัญ จำนวน 7 คน และสอนศาสนา 7 คน
3.1.4 การควบคุมที่มีอยู่แล้ว
• ศึกษาและทำหลักสูตรสาระการเรียนรู้ทั้ง 8กลุ่มสาระ
• จัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล
• บันทึกการใช้แหล่งการเรียนรู้
• ประชุมฝ่ายวิชาการ
• ศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล
3.15 การปรับปรุงการควบคุม
• แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตร
• จัดกิจกรรม ส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการเรียนการสอน



3.2 ฝ่ายกิจการนักเรียน
3.21 วัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สำคัญของการฝ่ายกิจการนักเรียน เพื่อให้การดำเนินงานในเรืองการสนับสนุนในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
3.2.2 ความเสี่ยงที่สำคัญ
• ขาดความต่อเนื่องในการทำงาน
3.2.3.ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่ายกิจการนักเรียน การควบคุมของฝ่ายกิจการนักเรียนเนื่องจากบุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนน้อยและต้องรับผิดชอบหลายงาน จึงทำให้การปฏิบัติงานในบางครั้งมีความล่าช้าและขาดความต่อเนื่อง
3.2.4 การควบคุมที่มีอยู่แล้ว
• ลดงานบางอย่างที่ไม่จำเป็น
• จัดทำแผนปฏิบัติงาน
3.2.5 การปรับปรุงการควบคุม
• แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทำงานในฝ่าย

3.3 ฝ่ายบริหารและแผน
3.3.1วัตถุประสงค์การดำเนินงานที่สำคัญของการบริหารและแผนเพื่อให้การปฎิบัติงานเป็นไปอย่างมีระบบถูกต้องและรวดเร็ว
3.3.2 ความเสี่ยงที่สำคัญ
• เอกสารจากหน่วยงานต่างๆได้รับล่าช้า
• การทำงานไม่เป็นไปตามระบบ
3.3.3 ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่ายบริหารและแผนการควบคุมของฝ่ายบริหารและแผนเพื่อให้การบริหารงาน ประสานงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3.3.4 การควบคุมที่มีอยู่แล้ว
• จัดทำแฟ้มทะเบียนงานเอกสารต่าง ๆ
• แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
3.2.5 การปรับปรุงการควบคุม
• แต่งตั้งผู้ปฏิบัติและกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
• ให้การอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงาน




4. วิธีการติดตามประเมินผล
วิธีการติดตามประเมินผล โดย
• ติดตามการดำเนินการในระหว่างปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริหารสถานศึกษา และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนในที่ประชุม

5.ผู้รับผิดชอบประเมินผล
• ผู้บริหารสถานศึกษา


ภารกิจและหน้าที่ของโรงเรียนศาสนธรรมวิทยา

1. ภารกิจของโรงเรียนศาสนธรรมวิทยา
• จัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร อิสลามศึกษาและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
• สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
• ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และสืบเสาะแสวงหาความรู้ในแขนงต่าง ๆ และสามารถนำความรู้ไปมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
• ปลูกฝังให้ผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม
• จัดกิจกรรมของโรงเรียน
• พัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีแหล่งการเรียนรู้ ให้สอดคล้อง เหมาะสม เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน
• บริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้ข้อมูลและแหล่งเรียนรู้จากท้องถิ่นและชุมชน